วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15
บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15
วิชา การอบรมเลี้ยงดูปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 25 เดือนพฤศจิกายน 2557

กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร) เวลา 12.20 - 15.00 น.

ความรู้ที่ได้รับ
         โรคสมาธิสั้น หรือ โรคเอดีเอชดี (Attention deficit-hyperactivity disorder หรือ ADHD)

   1. ลดสิ่งเร้า 
      
       สิ่งเร้าเป็นตัวสำคัญที่ทำให้สมาธิของลูกน้อยลง ดังนั้นการลดสิ่งเร้า สมองจะไม่ถูกกระตุ้นมากเกินไป ทำให้เด็กไม่จดจ่ออยู่กับสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่สำคัญ นำไปสู่การมีสมาธิกับสิ่งสำคัญได้มากขึ้น
      
       สำหรับวิธีลดสิ่งเร้านั้น คุณหมอแนะนำว่า พ่อแม่ควรจัดบ้านให้เรียบง่าย และเรียบร้อย ไม่ควรมีลวดลายสีฉูดฉาด หรือของตกแต่งบ้านมากเกินไป พร้อมทั้งจัดของให้เป็นระเบียบ เก็บของในตู้ทึบแทนตู้กระจก
      
       - ควรจัดที่เงียบ ๆ ให้ลูกได้ทำงาน หรือทำการบ้าน ต้องไม่มีเสียงโทรทัศน์รบกวน ส่วนบนโต๊ะควรมีเฉพาะสมุด ดินสอ และยางลบ
      
       - มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างสงบ พูดกับเด็กด้วยเสียงเบา ไม่ตะโกน โวยวาย รวมทั้งพ่อแม่ไม่ควรทะเลาะ หรือใช้ความรุนแรงต่อหน้าลูก
      
       - หัดให้ลูกอยู่ในบรรยากาศที่สงบ หรือทำกิจกรรมเงียบ ๆ เช่น หัดให้นั่งเล่นในสนามหญ้าเงียบ ๆ ลดการเที่ยวศูนย์การค้า ไม่ซื้อของเล่นให้มากเกินไป อีกทั้งจำกัดเวลาดูโทรทัศน์ เล่นเกม และคอมพิวเตอร์
      
       ด้านสภาพแวดล้อมที่โรงเรียน ควรจัดให้เด็กมานั่งใกล้ ๆ ครู ไม่ควรให้นั่งใกล้ประตูหน้าต่าง หรือเพื่อนที่ชอบเล่น ชอบคุย 
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
        2. เฝ้ากระตุ้น
      
       - จำเป็นต้องมีผู้ใหญ่คอยติดตาม และตักเตือนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเด็กเล็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ตลอดเวลา แม้จะรู้ และเข้าใจว่าควรทำสิ่งใดก็ตาม
      
       - เด็กต้องการความช่วยเหลือจากพ่อแม่ และครูตลอดเวลา
      
       - ทำบันทึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่ และครู
      
       วิธีการกระตุ้น
      
       - เตือนเด็กเมื่อถึงเวลาทำงาน หรือเตือนเมื่อหมดเวลาเล่น
      
       - โน้ตข้อความสำคัญในที่ที่เด็กเห็นได้ง่าย เช่น กล่องดินสอ โต๊ะเรียน ผนังห้อง หรือกระดาน
      
       - ตั้งนาฬิกา หรือเครื่องจับเวลาให้เด็กเห็นชัด ๆ ขณะทำงาน เพื่อให้เด็กกะเวลาได้ดีขึ้น และตั้งใจทำงานให้เสร็จทันเวลาที่กำหนด
      
       - แบ่งงานให้สั้นลง โดยให้เด็กได้พักเป็นช่วง ๆ
      
       - แนะเคล็ดวิธีช่วยจำให้ลูก เช่น การย่อ ทำสัญลักษณ์ ผูกเป็นโคลง
      
       - ให้เด็กอ่านออกเสียง หัดขีดเส้นใต้ขณะเรียน
      
       3. หนุนจิตใจ
      
       - เด็กมักทำสิ่งต่างๆ ไม่สำเร็จ เพราะได้รับแต่คำตำหนิติเตียน หมดความมั่นใจ เด็กจึงต้องการกำลังใจอย่างมากจากพ่อแม่ และคุณครู
      
       - ระวังที่จะไม่เข้มงวด จับผิด แต่ควรเปิดโอกาสให้เด็กคิด
      
       - ช่วยเด็กหาวิธีแก้ไขจุดอ่อน เช่น ขี้ลืม
      
       - หาเรื่องตลกขำขันมาคุยกับเด็ก เล่นกับเด็กอย่างสนุกสนาน หรือพาเด็กออกกำลังกายบ้าง
      
       - ชมเด็กบ่อย ๆ เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี หรือมีความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ
      
       - บอกสิ่งที่สังเกตได้ในทางบวก เช่น เหนื่อยไหม แม่เห็นลูกทำมานานแล้ว วันนี้ลูกคิดได้เร็วกว่าเมื่อวานเยอะเลยนะ หรือ ทำมาได้ตั้ง 3 ข้อแล้ว เอ้าเหลืออีก 2 ข้อเองคนเก่งของพ่อ 
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
        4. ให้รางวัล
      
       เด็กที่สมาธิบกพร่อง มักจะเบื่อ และขาดความอดทน แต่หากมีรางวัลตามมา เด็กจะรู้สึกท้าทาย และมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น โดยการให้รางวัล ควรให้ง่ายๆ บ่อยๆ มากกว่าที่ให้เด็กทั่วไป และต้องให้ในทันที
      
       นอกจากนี้ควรเปลี่ยนรางวัลบ่อยๆ เพื่อให้เด็กได้สนุก และสนใจ อาจให้เด็กได้ลองคิดรางวัลเองบ้าง หรือให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเด็กเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการให้แต้ม/รางวัลแก่เด็กตลอดเวลา
      
       สำหรับการให้รางวัล ถือเป็นแรงจูงใจที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็กได้ โดยมีขั้นตอนการให้รางวัลง่ายๆ คือ
      
       - ระบุพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นทดแทนพฤติกรรมปัญหา (เลือกให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่มีผลต่อเด็กในระยะยาวก่อน)
      
       - ให้รางวัลกับพฤติกรรมใหม่ทุกครั้งที่เห็น
      
       - หลังจากฝึกได้ 1-2 สัปดาห์ เริ่มใช้การลงโทษแบบไม่รุนแรง เช่น Time out ตัดสิทธิ์ อดรางวัล เมื่อเกิดพฤติกรรมปัญหา
      
       - ใช้วิธีการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ
      
       5. การพูดกับเด็ก
      
       - ไม่พูดมาก ไม่เหน็บแนม ประชดประชัน ไม่ติเตียน
      
       - บอกกับเด็กสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่าต้องการให้ทำอะไรในตอนนี้
      
       - หากไม่แน่ใจว่าเด็กฟังอยู่ เข้าใจ พ่อแม่ควรให้เด็กทบทวนว่าสิ่งที่สั่ง หรือพูดไปคืออะไรบ้าง
      
       อย่างไรก็ดี หากเด็กไม่ทำตามคำสั่ง พ่อแม่ควรใช้วิธีเดินเข้าไปหา จับมือ แขน หรือบ่า สบตาเด็ก พูดสั้น ๆ จากนั้นให้เด็กพูดทวน หากเด็กไม่ทำ ให้พาไปทำด้วยกัน หลีกเลี่ยงการบังคับ หรือออกคำสั่งตรงๆ แต่ใช้วิธีบอกกับเด็กว่าเขามีทางเลือกอะไรบ้าง เช่น หากต้องการให้เด็กเริ่มต้นทำการบ้าน แทนที่จะสั่งให้เด็กทำการบ้านตรงๆ อาจพูดว่า เอาล่ะได้เวลาทำการบ้านแล้ว...หนูจะเริ่มทำภาษาไทยก่อน หรือจะทำเลขก่อนดีจ้ะเป็นต้น
      
       6. นับสิ่งดี
      
       - หาเวลาหยุดพักสั้น ๆ ในแต่ละวัน
      
       - เตือนตัวเองอยู่เสมอว่า เด็กไม่ได้ตั้งใจทำตัวให้มีปัญหา แต่เด็กมีความผิดปกติในการทำงานของสมอง ทำให้คุมตัวลำบาก หยุดตัวเองได้ยาก และไม่มีใครอยากเป็นแบบนี้
      
       - ให้อภัยแก่เด็ก ตัวเราเอง และทุกคนที่อาจไม่เข้าใจในพฤติกรรมของลูก
      
       - คิดถึงความน่ารัก และความดีในตัวเด็ก และตัวเรา (พ่อแม่) เอง
      
       7. มีขอบเขต
      
       - มีตารางเวลา หรือรายการสิ่งที่ต้องทำ เพื่อให้เด็กรับรู้ขีดจำกัด และช่วยควบคุมให้เด็กทำตามง่ายขึ้น
      
       - เรียงลำดับกิจกรรมง่าย ๆ ให้ชัดเจน และแน่นอน เช่น เวลาตื่น เวลานอน เวลาทำการบ้าน อ่านหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์ เล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมอื่นๆ
      
       - ไม่ปล่อยปละละเลย หรือตามใจมากเกินไป เพื่อไม่ให้เด็กสับสนและผัดผ่อนต่อรองบ่อย ๆ
      
       การดูแลลูกสมาธิสั้น สำคัญที่สุด พ่อแม่ต้องมีทัศนคติต่อเด็กในทางบวก ซึ่งพ่อแม่ต้องเข้าใจก่อนว่าลูกไม่ได้แกล้งซน แกล้งดื้อ จากนั้นใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมที่ไม่ทำลายความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองของเด็กให้ลดลงตามวิธีที่กล่าวไปข้างต้น เมื่อรู้จักลูกของเราแล้ว เรามาเลี้ยงเขาอย่างสร้างสรรค์กันดีกว่า 

ประเมินการเรียนการสอน

ตนเอง      :       เข้าใจเนื้อหา
  อาจารย์    :     เข้าสอนตรงเวลา  สอนเนื้อหาเข้มข้นกระชับเข้าใจ
 เพื่อน       :      อธิบายความรู้ที่เรียนให้ฟังอย่าง  มีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อน


  
บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ อ.ตฤณ แจ่มถิน 
เวลาเรียน 12:20- 15:00 น. ห้อง234


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีกิจกรรมของทางสาขา

"กิจกรรม  ครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทย"






บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13
บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 813
วิชา การอบรมเลี้ยงดูปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2557
กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร) เวลา 12.20 - 15.00 น.




            เด็กดาวน์ หรือเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เป็นเด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม เพราะความผิดปกติของโครโมโซม
โครโมโซม จะมีอยู่ในเซลร่างกายมนุษย์ แต่ละคนจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง มีหน้าที่แสดงลักษณะของคนๆนั้นออกมา เช่น ผมสีดำ ตัวเตี้ย ตัวสูง เพศชาย เพศหญิง และถ่ายทอดลักษณะเหล่านั้นออกมาให้ลูกหลาน โดยจะได้จากบิดา 23 แท่ง มารดา 23 แท่ง
สาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการดาวน์
สาเหตุของความผิดปกติของโครโมโซม ยังไม่ทราบแน่ชัด มีปรากฏในทุกเชื้อชาติ เด็กเกิดใหม่ 1,000ราย จะพบเด็กดาวน์ 1 ราย ความผิดปกติมี 3 ประเภทคือ
1.               โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง พบได้ร้อยละ 95 %
2.               โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 พบได้ร้อยละ 4
3.               มีโครโมโซม ทั้งปกติในคนเดียวกันได้พบได้ร้อยละ 1
ลักษณะของเด็กดาวน์
1.               ลักษณะทั่วไป เด็กดาวน์ทุกคนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ ศีรษะเล็ก หน้าแบน สันจมูกแบน ตาเล็กเฉียงขึ้น หูเล็ก ช่องปากเล็ก เพดานปากสูง คอสั้น แขนขาสั้น มือแบนกว้าง นิ้วมือ นิ้วเท้าสั้น ฝ่าเท้าสั้น
2.               ระบบกล้ามเนื้อ และกระดูก กล้ามเนื้ออ่อนนิ่ม ข้อต่อยืดได้มาก ทำให้มีพัฒนาการการเคลื่อนไหวช้า และฝ่าเท้าแบนราบ ในบางราบอาจมีข้อกระดูกเคลื่อน จึงจำเป็นต้องมีการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูกเจริญเติบโตช้า ทำให้ตัวเล็กเตี้ย สันจมูกแบน ช่องปากเล็ก หูชั้นกลางอักเสบได้ง่าย มีความผิดปกติของกระดูกหูชั้นกลาง และชั้นใน ทำให้บางรายมีความบกพร่องทางการได้ยิน
3.               ระบบผิวหนัง มีความยืดหยุ่นน้อย มีเลือดมาเลี้ยงน้อย ทำให้ผิวหนังแห้งแตกง่าย มีรอยจ้ำเป็นลาย และการรับรู้ทางประสาทสัมผัสมีน้อย ควรออกกำลังกายเพื่อช่วยให้เลือดมาเลี้ยงดีขึ้น
4.               ระบบทางเดินอาหาร บางรายมีการอุดตันของลำไส้ และ/หรือ ไม่มีรูทวารตั้งแต่แรกเกิด บางรายอาจอาเจียนจนถึงอายุ 6 เดือน เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารไม่แข็งแรง เด็กส่วนมากมีปัญหาเร่องท้องอืด และท้องผูกได้ง่าย
5.               ระบบหัวใจ และหลอดเลือด บางรายอาจมีโรคหัวใจพิการ แต่กำเนิดร่วมด้วย และมะเร็งในเม็ดเลือดขาวได้บ้าง
6.               ระบบประสาท สมองมีขนาดเล็ก ทำให้มีการรับรู้ ความเข้าใจช้า สติปัญญาต่ำกว่าเด็กทั่วไปอาจมีปัญหาทางตา เช่น ตาเข สายตาสั้น ปัญหาการได้ยิน มีประสาทรับความรู้สึกต่างๆน้อยกว่าปกติ
7.               ระบบหายใจ ติดเชื้อง่าย เนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ และขับเสมหะไม่ดี
8.               ระบบสืบพันธ์ อวัยวะเพศของผู้ชายอาจจะเล็กกว่าปกติ
9.               ระบบต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย และสมอง (Growth Hormone ,Thyroid Hormone ) อาจมีน้อยกว่าปกติ
10.         ลักษณะนิสัย และอารมณ์ วัยเด็กจะเชื่องช้า เมื่อโตขึ้นร่าเริงแจ่มใส การเลี้ยงดูที่เหมาะสม และการส่งเสริมพัฒนาการตั้งแต่แรกเกิด – 5 ปี จะมีผลต่อพฤติกรรมการปรับตัว และอารมณ์ของเด็กในทางที่ดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัดเจน
ความช่วยเหลือที่เด็กดาวน์ควรได้รับ
1.               วัยเด็ก เป็นวัยทองของชีวิต ทักษะต่างๆจะพัฒนาไปได้ถึงกว่า ร้อยละ 90 ในวัยนี้ เด็กควรได้รับการแก้ไขความพิการที่เป็นมาแต่กำเนิด การดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค และการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเข้าเรียน ซึ่งเป็นหน้าที่ของครอบครัว บุคลากรทางการศึกษา และสาธารณสุข
2.               วัยเรียน เมื่อเด็กได้รับการเตรียมพร้อม โดยเฉพาะทางด้านร่าง และพัฒนาการแล้ว เด็กควรได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติใกล้บ้าน เพื่อให้ได้เรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับชีวิตจริงในชุมชนของตนเอง ซึ่งเป็นหน้าที่ของครอบครัว และบุคลากรทางการศึกษา
3.               วัยทำงาน หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนแล้ว เด็กควรได้รับการฝึกอาชีพจากสถานที่ทำงานจริงในชุมชน หรือสถานฝึกอาชีพต่างๆต่อจากนั้น ชุมชนควรเปิดโอกาสให้เด็กเหล่านี้ได้ทำงาน งานที่ทำอาจเป็นงานที่ง่าย ไม่ซับซ้อน หรือใช้ทักษะไม่มากนัก ในปัจจุบันมีสถานประกอบการเอกชนหลายแห่ง เปิดโอกาสให้กับเด็กเหล่านี้ ได้ทำงาน และมีอาชีพที่เหมาะสม เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เช่นเดียวกับคนทั่วไป
การดูแลเด็กดาวน์
สุขภาพอนามัย เด็กดาวน์ จะมีโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด หรือมักจะเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อแพทย์จะได้ค้นหา หรือให้การบำบัด รักษาได้ทันกาล รวมทั้งป้องกันโรค ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
การส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กดาวน์ สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาเด็กไปพบแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ และวิธีการ ในการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้เด็กมีความพร้อม รวมทั้งนำกลับมาฝึกฝนที่บ้าน หรือในทุกโอกาสเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กปกติ


ประเมินการเรียนการสอน

ตนเอง      :       เข้าใจเนื้อหา
  อาจารย์    :     เข้าสอนตรงเวลา  สอนเนื้อหาเข้มข้นกระชับเข้าใจ
 เพื่อน       :      อธิบายความรู้ที่เรียนให้ฟังอย่าง  มีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อน

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12
บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12
วิชา การอบรมเลี้ยงดูปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 4 เดือนพฤศจิกายน 2557
กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร) เวลา 12.20 - 15.00 น.



 อาจารย์บอกคะนนสอบปลายภาคพร้อมกับเฉลย และทบทวนให้กับข้อที่ผิด



ประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง        ค่อนข้างพอใจคะแนนสอบที่ได้   แก้ไขและปรับปรุงข้อที่ผิด
เพื่อน        ตั้งใจฟังคะแนนสอบ  ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายข้อที่ผิดพลาด
อาจารย์     ชื่ชมคนที่ได้คะแนนดี และให้กำลังใจคนที่ได้คะแนนน้อย พร้อมบอกข้อควรแก้ไข
บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11
บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11
วิชา การอบรมเลี้ยงดูปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 28 เดือนตุลาคม 2557
กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร) เวลา 12.20 - 15.00 น.




สอบกลางภาค







บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10
บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10
วิชา การอบรมเลี้ยงดูปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 21 เดือนตุลาค 2557
กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร) เวลา 12.20 - 15.00 น.


สรุปเนื้อหาที่เรียนวันนี้





                  เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders) หมายถึง เด็กที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม (ต่อต้านตนเองหรือผู้อื่น) หรือมีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ (แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ) ออกมาอย่างเนื่องจนถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของเด็กไม่ว่าจะเพียงลักษณะเดียว หรือหลายลักษณะร่วมกันก็ได้ เช่น มีความยากลำบากในการเรียน ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางด้านสติปัญญา ประสาทสัมผัส หรือสุขภาพ มีความยากลำบากในการสร้างหรือคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนและครู แสดงออกถึงภาวะความเครียดและไม่มีความสุขอย่างเป็นปกติ มีแนวโน้มของอาการทางสุขภาพร่างกาย หรือความกลัวอันเป็นผลของปัญหาที่เกิดกับตัวเด็กเองหรือปัญหาที่เกิดในโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของลูกครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งปัญหาเหล่านั้น ส่วนใหญ่สามารถได้รับการช่วยเหลือหรือแก้ไขได้ หากเด็กได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาของเด็กในบางกรณีอาจจะมีความรุนแรง ซึ่งเป็นสัญญาณของปัญหาสำคัญที่เด็กกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานานจนกระทั่งเด็กโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ผลเสียที่ตามมาอาจลุกลามไปถึงการสูญเสียของชีวิตก็เป็นได้
ในปัจจุบัน ประมาณร้อยละ 6 ถึง 10 ของเด็กกำลังประสบภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Emotional and Behavioral Disorders) โดยเด็กจำนวนดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการศึกษาพิเศษ รวมทั้งการรักษาที่เหมาะสม เพราะการสอนในห้องเรียนอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะทำลายข้อจำกัดในการเรียนรู้ของเด็กได้ อีกทั้งตัวเด็กเองยังมักเป็นผู้ขัดขวางการเรียนการสอนในห้องเรียนอีกด้วย ทั้งนี้ ความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์นั้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของเด็ก แม้ว่าในความเป็นจริงเด็กกลุ่มนี้ไม่ได้มีความบกพร่องทางสติปัญญาแต่อย่างใดก็ตาม อีกทั้งยังสามารถมีผลการเรียนดีเยี่ยม เพียงแต่จำเป็นต้องได้รับการดูแลและช่วยเหลือเป็นพิเศษ ทั้งนี้ ความหมายของความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์นั้น ครอบคลุมถึงโรคจิตเภท (Schizophrenia) อย่างไรก็ตามความหมายดังกล่าวไม่สามารถใช้ได้กับเด็กที่มีปัญหาปรับตัวเข้ากับสังคมได้ยาก เว้นเสียแต่ว่าได้รับการรับรองว่าเป็นผลของความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์


                 ความบกพร่องทางอารมณ์ซึ่งนำไปสู่ความบกพร่องทางพฤติกรรมมีลักษณะที่หลากหลาย ซึ่งจำแนกได้เป็นระดับตั้งแต่เบา (Mild) จนถึงรุนแรง (Severe) นอกจากนี้เด็กยังสามารถแสดงอาการผิดปกติได้มากกว่าหนึ่งลักษณะอีกด้วย ซึ่งตัวอย่างของความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว รวมไปถึงภาวะซึมเศร้า (Depression) ที่ส่งผลกระทบให้เด็ก 2 คนในจำนวน 100 คนมีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป รวมทั้งมีปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต นอกจากนี้เด็กยังอาจมีความผิดปกติทางการรับประทานร่วมด้วย โดยลักษณะของปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็ก สามารถจำแนกได้ตามกลุ่มอาการ ดังนี้
  • ปัญหาด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
    • ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น ทำลายข้าวของ ลักทรัพย์
    • ฉุนเฉียวง่าย มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
    • มีนิสัยกลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโทษผู้อื่น และมักโกหกอยู่เสมอ
    • เอะอะและหยาบคาย
    • หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
    • ใช้สารเสพติด
    • หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
  • ปัญหาด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
    • มีความสามารถในการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) ซึ่งอาจไม่เกิน 20 วินาที และสามารถถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ทุกเมื่อ
    • มีลักษณะงัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
  • ภาวะอยู่ไม่สุข (Hyperactivity) และสมาธิสั้น (Attention Deficit)
    • มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ และหยุกหยิกไปมา
    • พูดคุยตลอดเวลา และมักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นอยู่เสมอ
    • มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
  • การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
    • หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
    • เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
    • ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
  • ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
    • ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder) เช่น การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation) การปฏิเสธที่จะรับประทาน รวมถึงนิสัยการรับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
    • โรคอ้วน (Obesity)
    • ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)
  • ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
    • ขาดเหตุผลในการคิด
    • อาการหลงผิด (Delusion)
    • อาการประสาทหลอน (Hallucination)
    • พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
 ประเมินการสอน
ตนเอง      :       เข้าใจเนื้อหา
 อาจารย์    :     เข้าสอนตรงเวลา  สอนเนื้อหาเข้มข้นกระชับเข้าใจ
 เพื่อน       :      อธิบายความรู้ที่เรียนให้ฟังอย่าง  มีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อน

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9
บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9
วิชา การอบรมเลี้ยงดูปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 14 เดือนตุลาคม 2557

กลุ่มเรียน 101 (วันอังคาร) เวลา 12.20 - 15.00 น.


สรุปเนื้อหาที่เรียนวันนี้





LD เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ( Learning Disabilities : LD) 
โดย อทิตา หมีวรรณ *นักการศึกษาพิเศษประจำศูนย์ฯ Smartkids

เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (L.D)
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐาน ทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา อาจเป็นการพูดและ/หรือภาษาเขียน หรือการคิดคำนวณ รวมทั้งสภาพความบกพร่องในการรับรู้ สมองได้รับบาดเจ็บกาปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไป

สาเหตุ
·         การได้รับบาดเจ็บทางสมองเนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
·         กรรมพันธุ์ เนื่องจากงานวิจัยจำนวนมากระบุว่า ถ้าหากพ่อแม่ ญาติ พี่น้องที่ใกล้ชิดเป็นจะมีโอกาส ถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม
·         สิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุอื่น  ที่ไม่ใช่การได้รับบาดเจ็บทางสมอง หรือกรรมพันธุ์ เช่น การพัฒนาการช้า เนื่องจากการได้รับสารอาหารไม่ครบ ขาดสารอาหาร มลพิษ การเลี้ยงดู
ลักษณะทั่วไปของเด็ก LD
·         มีความบกพร่องทางการพูด
·         มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
·         มีปัญหาในการเรียนวิชาทักษะ
·         มีปัญหาในการสร้างแนวความคิดรวบยอด
·         การทดสอบผลการเรียนให้ผลไม่แน่นอนมากแก่การพยากรณ์
·         มีความบกพร่องทางการรับรู้
·         มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว
·         มีอารมณ์ไม่คงที
·         โยกตัวหรือผงกศีรษะบ่อยๆ
·         มีพัฒนาการทางร่างกายไม่คงที่
·         มีพฤติกรรมไม่คงเส้นคงว่า
·         เสียสมาธิง่ายแสดงพฤติกรรมแปลกๆ
·         มีปัญหาในการสร้างความ สัมพันธ์กับเพื่อน
การบกพร่องทางการอ่าน
·         จำตัวอักษรไม่ได้ จำตัวอักษรได้แต่อ่านเป็นคำไม่ได้
·         ความสามารถในการอ่านต่ำกว่านักเรียนอื่นในชั้นเดียวกัน
·         ระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยหรือสูงกว่าเกณฑ์
·         เข้าใจภาษาได้ดีหากได้ฟังหรือมีคนอ่านให้ฟัง
·         อ่านคำโดยสลับตัวอักษร
·         ไม่เข้าใจว่าตัวอักษรใดมาก่อน – หลัง
·         เด็กบางคนมีความไวในการฟัง
·         เด็กบางคนอาจมีความไวในการใช้สายตา
·         มีความยากลำบากในการจำรูปพยัญชนะและการอ่านพยัญชนะ
·         มีความยากลำบากในการแยกแยะเสียง    เช่น   การแยกแยะเสียง        
·         มีความยากลำบากในการจำรูปสระและการอ่านสระ
·         การออกเสียงคำไม่ชัด    หรือไม่ออกเสียงบางเสียงบางครั้งออกเสียงรวบคำ
·         ไม่สามารถอ่านคำได้ถูกต้อง เช่น การอ่านคำที่มีวรรณยุกต์กำกับการอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
·         อ่านคำโดยสลับตัวอักษร เช่น “ นก” เป็น “ กน” “ งาน” เป็น “ นาง” เป็นต้น
·         ไม่สามารถอ่านข้อความหรือประโยคได้ถูกต้อง   เช่น อ่านข้ามคำ อ่านตกหล่น อ่านเพิ่มคำ อ่านสลับคำ
·         ไม่สามารถเรียงลำดับจากเรื่องที่อ่านได้
·         จับข้อเท็จจริงจากเรื่องที่อ่านไม่ได้
·         จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านไม่ได้
การบกพร่องทางการเขียน
·         ไม่สามารถลอกคำที่ครูเขียนบนกระดานลงบนสมุดได้
·         เขียนประโยคตามครูไม่ได้
·         ไม่สามารถแยกรูปทรงทางเรขาคณิตได้
·         เรียงคำไม่ถูกต้อง
·         มีความยากลำบากในการเขียนพยัญชนะ    สระ   วรรณยุกต์  และเลขไทย  เช่น เด็กจะลากเส้นวน  ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวน ๆ ซ้ำ ๆ
·         เขียนพยัญชนะ สระ และเลขไทยกลับด้านคล้ายมองจากกระจกเงา
·         มีความสับสนในการเขียนพยัญชนะ และเลขไทยมีลักษณะคล้ายกัน   เช่น , , ,
·         เขียนด้วยลายมือที่อ่านไม่ออก
·         เขียนเรียงลำดับพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ในคำผิด ตำแหน่ง    เช่น   “ ปลา” เป็น “ ปาล”“ หมู” เป็น “ หูม” “ กล้วย” เป็น “ ก้ลวย”            
·         เขียนไม่ได้ใจความ
·         เขียนหนังสือ ลอกโจทย์จากกระดานช้าเพราะกลัวสะกดผิด
·         เขียนไม่ตรงบรรทัด   เขียนต่ำหรือเหนือเส้น  ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน   ไม่เว้นขอบกระดาษ ไม่เว้นช่องไฟ
·         จับดินสอหรือจับปากกาแน่นมาก
·         ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง เขียนตัวหนังสือตัวโต
การบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์
·         มีปัญหาในการบอกความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
·         ไม่เข้าใจความหมายของจำนวน
·         ไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ได้ยินกับสิ่งที่มองเห็น
·         ไม่เข้าใจปริมาณ เมื่อขนาดเปลี่ยนไป
·         ทำเลขไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นบวก ลบ คูณ หาร เพียงอย่างเดียวหรือทั้ง 4 อย่าง
·         ไม่เข้าใจความหมายของตัวเลขที่นำมาเรียงกันทางคณิตศาสตร์
·         ไม่สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนในการคำนวณได้
·         ไม่เข้าใจในการอ่านแผนและกราฟ
·         มีปัญหาในการทำเลขโจทย์             
·         ไม่เข้าใจเกี่ยวกับค่าประจำตำแหน่ง    เช่น    จะไม่รู้ว่าเลข   “ 3 ” ในจำนวนต่อไปนี้ 23 , 38 , 317 มีค่าแตกต่างกัน   ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลทำให้มีความยุ่งยากในการบวก ลบ คูณ หาร จำนวน และไม่สามารถหาคำตอบที่ถูกต้องได้
  • ไม่สามารถจำ และเขียนสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เช่น “ + แทน การบวก” “ - แทน
    การลบ” “ X   แทน การคูณและ “ ?  แทน การหาร

ประเมินการสอน
 ตนเอง      :       เข้าใจเนื้อหา
  อาจารย์    :     เข้าสอนตรงเวลา  สอนเนื้อหาเข้มข้นกระชับเข้าใจ
 เพื่อน       :      อธิบายความรู้ที่เรียนให้ฟังอย่าง  มีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อน