บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10
บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10
วิชา
การอบรมเลี้ยงดูปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ
แจ่มถิน
วันที่ 21 เดือนตุลาค 2557
กลุ่มเรียน 101
(วันอังคาร) เวลา 12.20
- 15.00 น.
สรุปเนื้อหาที่เรียนวันนี้
เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
(Children with Behavioral and Emotional Disorders) หมายถึง
เด็กที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม (ต่อต้านตนเองหรือผู้อื่น)
หรือมีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
(แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ)
ออกมาอย่างเนื่องจนถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของเด็กไม่ว่าจะเพียงลักษณะเดียว
หรือหลายลักษณะร่วมกันก็ได้ เช่น มีความยากลำบากในการเรียน
ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางด้านสติปัญญา ประสาทสัมผัส หรือสุขภาพ
มีความยากลำบากในการสร้างหรือคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนและครู
แสดงออกถึงภาวะความเครียดและไม่มีความสุขอย่างเป็นปกติ
มีแนวโน้มของอาการทางสุขภาพร่างกาย
หรือความกลัวอันเป็นผลของปัญหาที่เกิดกับตัวเด็กเองหรือปัญหาที่เกิดในโรงเรียน
ซึ่งปัจจุบันมีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของลูกครั้งแล้วครั้งเล่า
ซึ่งปัญหาเหล่านั้น ส่วนใหญ่สามารถได้รับการช่วยเหลือหรือแก้ไขได้
หากเด็กได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม
ปัญหาของเด็กในบางกรณีอาจจะมีความรุนแรง
ซึ่งเป็นสัญญาณของปัญหาสำคัญที่เด็กกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
หากปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานานจนกระทั่งเด็กโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว
ผลเสียที่ตามมาอาจลุกลามไปถึงการสูญเสียของชีวิตก็เป็นได้
ในปัจจุบัน
ประมาณร้อยละ 6 ถึง 10 ของเด็กกำลังประสบภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Emotional
and Behavioral Disorders) โดยเด็กจำนวนดังกล่าว
จำเป็นต้องได้รับการศึกษาพิเศษ รวมทั้งการรักษาที่เหมาะสม
เพราะการสอนในห้องเรียนอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะทำลายข้อจำกัดในการเรียนรู้ของเด็กได้
อีกทั้งตัวเด็กเองยังมักเป็นผู้ขัดขวางการเรียนการสอนในห้องเรียนอีกด้วย ทั้งนี้
ความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์นั้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของเด็ก
แม้ว่าในความเป็นจริงเด็กกลุ่มนี้ไม่ได้มีความบกพร่องทางสติปัญญาแต่อย่างใดก็ตาม
อีกทั้งยังสามารถมีผลการเรียนดีเยี่ยม เพียงแต่จำเป็นต้องได้รับการดูแลและช่วยเหลือเป็นพิเศษ
ทั้งนี้ ความหมายของความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์นั้น ครอบคลุมถึงโรคจิตเภท (Schizophrenia)
อย่างไรก็ตามความหมายดังกล่าวไม่สามารถใช้ได้กับเด็กที่มีปัญหาปรับตัวเข้ากับสังคมได้ยาก
เว้นเสียแต่ว่าได้รับการรับรองว่าเป็นผลของความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
ความบกพร่องทางอารมณ์ซึ่งนำไปสู่ความบกพร่องทางพฤติกรรมมีลักษณะที่หลากหลาย
ซึ่งจำแนกได้เป็นระดับตั้งแต่เบา (Mild) จนถึงรุนแรง (Severe) นอกจากนี้เด็กยังสามารถแสดงอาการผิดปกติได้มากกว่าหนึ่งลักษณะอีกด้วย
ซึ่งตัวอย่างของความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ความวิตกกังวล
(Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว รวมไปถึงภาวะซึมเศร้า
(Depression) ที่ส่งผลกระทบให้เด็ก 2 คนในจำนวน
100 คนมีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป รวมทั้งมีปัญหาทางสุขภาพ
และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
นอกจากนี้เด็กยังอาจมีความผิดปกติทางการรับประทานร่วมด้วย
โดยลักษณะของปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็ก
สามารถจำแนกได้ตามกลุ่มอาการ ดังนี้
- ปัญหาด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
- ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น ทำลายข้าวของ
ลักทรัพย์
- ฉุนเฉียวง่าย มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น
และเกรี้ยวกราด
- มีนิสัยกลับกลอก เชื่อถือไม่ได้
ชอบโทษผู้อื่น และมักโกหกอยู่เสมอ
- เอะอะและหยาบคาย
- หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
- ใช้สารเสพติด
- หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
- ปัญหาด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
- มีความสามารถในการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น
(Short attention span) ซึ่งอาจไม่เกิน
20 วินาที และสามารถถูกสิ่งต่างๆ
รอบตัวดึงความสนใจได้ทุกเมื่อ
- มีลักษณะงัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ
รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
- ภาวะอยู่ไม่สุข (Hyperactivity) และสมาธิสั้น
(Attention Deficit)
- มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ
ได้ และหยุกหยิกไปมา
- พูดคุยตลอดเวลา
และมักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นอยู่เสมอ
- มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
- การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
- หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
- เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
- ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว
ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
- ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
- ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder) เช่น
การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation) การปฏิเสธที่จะรับประทาน
รวมถึงนิสัยการรับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
- โรคอ้วน (Obesity)
- ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ
(Elimination Disorder)
- ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
- ขาดเหตุผลในการคิด
- อาการหลงผิด (Delusion)
- อาการประสาทหลอน (Hallucination)
- พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
ประเมินการสอน
ตนเอง :
เข้าใจเนื้อหา
อาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา
สอนเนื้อหาเข้มข้นกระชับเข้าใจ
เพื่อน :
อธิบายความรู้ที่เรียนให้ฟังอย่าง มีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น